รู้จักศิลปะ กับ 7 แขนงทางศิลปะ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่รู้

รู้จักศิลปะ กับ 7 แขนงทางศิลปะ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่รู้ ! ศิลปะ เป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ ทัศนะของนักปราชญ์แต่ละคน รวมทั้งความเชื่อแนวคิด ในแต่ละยุค แต่ละสมัย มีความแตกต่างกัน หรือแล้วแต่ว่าจะนำศิลปะไปใช้ในแวดวงที่กว้างขวาง หรือจำกัดอย่างไร แต่จากทัศนะของนักปราชญ์ทั้งหลายจะเห็นว่าศิลปะมีคุณลักษณะที่เป็นตัวร่วมสำคัญที่สุด รวมไปถึงความหมายทางศิลปะที่แล้วแต่ความคิดของแต่ละคนว่าตีความอย่างไร รวมไปถึงบางคนอาจจะไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วศิลปะนั้นมีกี่แขนง กี่ศาสตร์ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับศิลปะ และศิลปะแขนงอื่นๆ กัน ไปดูกันเลย

ศิลปะ เป็นคำที่มีความหมายทั้งกว้างและจำเพาะเจาะจง ทั้งนี้ย่อมแล้วแต่ ทัศนะของนักปราชญ์แต่ละคน รวมทั้งความเชื่อแนวคิด ในแต่ละยุค แต่ละสมัย มีความแตกต่างกัน หรือแล้วแต่ว่าจะนำศิลปะไปใช้ในแวดวงที่กว้างขวาง หรือจำกัดอย่างไร

แต่จากทัศนะของนักปราชญ์ทั้งหลายจะเห็นว่าศิลปะมีคุณลักษณะที่เป็นตัวร่วมสำคัญที่สุด รวมไปถึงความหมายทางศิลปะที่แล้วแต่ความคิดของแต่ละคนว่าตีความอย่างไร รวมไปถึงบางคนอาจจะไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วศิลปะนั้นมีกี่แขนง กี่ศาสตร์ วันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับศิลปะ และศิลปะแขนงอื่นๆ กัน ไปดูกันเลย

ศิลป์ เป็น การเลียนแบบธรรมชาติ (Art is the imitation of nature) การตีความจากคำนิยามนี้ ธรรมชาติ นับว่าเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิด แรงบันดาลใจ ให้แก่ ศิลปินสำหรับในการสร้างงาน คำนิยามนี้ว่าศิลป์เป็น การเลียนแบบธรรมชาติ เป็น คำนิยาม ที่ถือกันว่าดั้งเดิมที่สุดซึ่ง อริสโตเติล (Aristotle 384-322 B.C.) นักปราชญ์ชาวกรีก เป็นผู้ตั้งขึ้น เป็นการทำให้เห็นว่า ธรรมชาติอาจเปรียบได้ดังแม่บทสำคัญ ที่มีต่อศิลปะ

แขนงทางศิลปะ

1.จิตรกรรม (ภาพเขียน) รู้จักศิลปะ กับ 7 แขนงทางศิลปะ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่รู้

1.จิตรกรรม (ภาพเขียน)

เป็นภาพที่วาดด้วยการระบายสี โดยจัดให้องค์ประกอบอยู่ในแบบ 2 มิติ โดยผู้ที่วาดภาพจิตกรรมมักจะถูกเรียกว่า จิตรกร หนึ่งในตัวอย่างผลงานจิตรกรรมยิ่งใหญ่ที่สุดคือภาพวาด โมนาลิซ่า ซึ่งถือเป็นของล้ำค้ามากที่สุดในโลกตะวันตก งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 1. การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป บนพื้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะเป็นเส้นเล็ก หรือ เส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียว

แต่การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจมีสีหลาย ๆ สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด 2. การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น มาระบายให้เกิดเป็นภาพ การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาดเส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น

คุณสามารถศึกษะศิลปะเก่าแก่ของประเทศไทยเพิ่มได้ที่ เที่ยว 5 เมืองรอง ที่ต้องลองไปสักครั้งดินแดนแห่งโบราณสถาน ความสวยงาม ความเก่าแก่ที่น่าไปสัมผัส

2.ประติมากรรม (ภาพปั้น)
รู้จักศิลปะ กับ 7 แขนงทางศิลปะ ที่หลายๆ คนอาจจะไม่รู้

2.ประติมากรรม (ภาพปั้น)

ใช้อธิบายถึงสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นจาก หิน ไม้ โลหะ และวัสดุอื่นๆ โดยเป็นงานละเอียดที่มีรูปทรง 3 มิติ ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ประกอบการสร้างรูปปั้นตามความเชื่อทางศาสนา ผลงานประติมากรรมของไทยอย่างเช่น มูรติ ส่วนของต่างประเทศฝรั่งเศสก็คือ ประตูนรก ประเภทของงานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของความลึก ได้แก่

  • ประติมากรรมนูนต่ำ ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง
  • ประติมากรรมนูนสูง ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย
  • ประติมากรรมลอยตัว ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง
3.สถาปัตยกรรม (งานก่อสร้าง)

3.สถาปัตยกรรม (งานก่อสร้าง)

หมายถึงงานศิลปะที่สื่ออกมาในรูปแบบของอาคารโครงสร้างต่างๆ รวมถึงการตกแต่งภายใน มีการใช้ศาสตร์ด้านต่างๆ มากมายเข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วย รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่มาจากการออกแบบของมนุษย์ ด้วยศาสตร์ทางด้านศิลปะ การจัดวางที่ว่าง ทัศนศิลป์ และวิศวกรรมการก่อสร้าง เพื่อประโยชน์ใช้สอย สถาปัตยกรรมยังเป็นสื่อความคิด และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของสังคมในยุคนั้นๆ ด้วย

4.ภาพพิมพ์ (สร้างสรรค์บนแม่พิมพ์)

4.ภาพพิมพ์ (สร้างสรรค์บนแม่พิมพ์)

หมายถึงศิลปะชนิดหนึ่งที่เกิดจากการกดของแม่พิมพ์ชนิดต่างๆ ให้ติดกับกระดาษ มีความคล้ายคลึงกับงานจิตกรรมเพียงแต่ต้องพึงพาแม่พิมพ์ที่อาจทำมาจากไม้ โลหะ หรือวัสดุอื่นๆ โดยแม่พิมพ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา

ลักษณะทางกายภาพของภาพพิมพ์ในสมัยปัจจุบัน หมายถึง งานศิลป์ที่มีพื้นผิวเเบนราบ (Flat surface) แบบ 2 มิติ คือ มีความกว้างเเละความยาว ปราศจากความหนาหรือความลึก วิธีการพิมพ์มีทั้งการใช้สีเเบบสีเดียว (Monochrome) และเเบบหลายสี (Polychrome) ซึ่งใช้วิธีการ “กดให้ติด” โดยการสร้างรูปหรือเครื่องหมายลงบนวัสดุผิวราบด้วยการกดหรือประทับจากเเม่พิมพ์

5.สื่อผสม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์)

5.สื่อผสม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์)

เป็นการผสมผสานระหว่างศิลปะทั้งสามประเภทรวมเข้าด้วยกันใน 1 ชิ้นงาน อย่างเช่น นักบุญฟรังซิสกับนิมิต ที่อยู่ภายในภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ประกอบไปด้วยฉากหลังแบบจิตรกรรม เทวทูตแบบประติมากรรม ตกแต่งด้วยภาพพิมพ์

6.ภาพถ่าย (การถ่ายภาพ)

6.ภาพถ่าย (การถ่ายภาพ)

เป็นการจับภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ โดยในหลักการศิลปะจะต้องถ่ายภาพให้ออกมาดูเป็นธรรมชาติ มีแสงเงาที่สมจริง ภาพที่ได้จะต้องเป็นภาพที่มีแนวคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่ภาพโป๊เปลือย

7.วรรณกรรม (บทประพันธ์)

7.วรรณกรรม (บทประพันธ์)

ถือเป็นตัวแทนของการแสดงออกทางอารยธรรม เป็นเรื่องราวที่เกิดจากแนวคิดของศิลปินในประเทศ โดยเฉพาะวรรณกรรมไทยที่โดดเด่นในเรื่องการใช้บทกวี กลอน

นอกจากนี้ยังมีงานศิลปะทีเรียกว่า ประยุกต์ศิลป์ เป็นศิลปะที่นำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันที่แบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ พาณิชย์ศิลป์ สำหรับประกอบการค้า มัณฑนศิลป์ สำหรับการตกแต่ง อุตสาหกรรมศิลป์ ออกแบบตัวผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามน่าใช้ หัตถศิลป์ เป็นงานฝีมือแฮนเมด สุดท้ายคือ การออกแบบ ที่ประกอบไปด้วย 3 ประเภทย่อยได้แก่ การออกแบบผลิตภัณฑ์, การออกแบบตกแต่ง และการออกแบบสื่อสาร

บทความแนะนำ : น้ำตาลกินได้แต่กินอย่างมีวิธี