รู้จักฝี ดูแลให้ดีก่อนเป็นหนอง
รู้จักฝี ดูแลให้ดีก่อนเป็นหนอง ฝี (Abscess) คือ ตุ่มหนองอักเสบ สะสมใต้ผิวหนัง หนองมีกลิ่นเหม็น เจ็บปวดเมื่อสัมผัสโดน และก่อตัวขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาว เนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และเชื้อโรค ซึ่งมักเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ฝีสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของร่างกาย ทั้งอวัยวะภายนอก และอวัยวะภายใน หากเป็นฝีที่ผิวหนังภายนอก ที่มีขนาดเล็ก และไม่มีการเจ็บป่วยรุนแรง อาการอาจจะดีขึ้น และฝีอาจจะหายไปเอง แต่หากเป็นฝีที่อวัยวะภายใน จะค่อนข้างเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเหมาะสม
ฝี แบ่งเป็น 2 ประเภท ตามบริเวณที่เกิด ได้แก่
1. ฝีที่ผิวหนัง
เป็นฝีที่ก่อตัวขึ้น บริเวณใต้ผิวหนัง โดยบริเวณรากผม หรือขนที่เกิดการติดเชื้อ จะพัฒนาจนเกิดฝี มีอาการ คือ ฝีเกิดการอักเสบบวมแดง เจ็บปวด รู้สึกแสบร้อน ในบางครั้งการติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นในทรวงอกของผู้หญิงที่ให้นมบุตร ได้กลายเป็นฝีที่เต้านม และบริเวณต่อมใต้ผิวหนัง ที่แคมอวัยวะเพศหญิง อาจเกิดการอักเสบกลายเป็นฝีที่ เรียกว่า ฝีต่อมบาร์โธลิน (Bartholin’s Abscess)

2. ฝีที่อวัยวะภายใน
เป็นฝีที่ก่อตัวขึ้น บริเวณอวัยวะภายใน หรือในบริเวณที่ว่าง ระหว่างอวัยวะภายในร่างกาย อาการแสดงขึ้นอยู่กับบริเวณที่เกิดฝี โดยฝีภายในร่างกาย มักเกิดจากอาการเจ็บป่วยอย่างอื่น ที่ส่งผลทำให้เกิดฝี เช่น การติดเชื้อในตับทำให้เกิดฝีในตับ การติดเชื้อในเหงือก และฟัน ทำให้เกิดฝี และฟันเป็นหนองได้ เป็นต้น

ตัวอย่างของฝีแต่ละชนิด ได้แก่
โพรงหนองที่ฟัน : เกิดบริเวณเนื้อใต้ฟัน หรือบริเวณเหงือก และกระดูกกรามใต้ฟัน
หนองที่ทอนซิล : เกิดบริเวณต่อมทอนซิลในช่องปาก และผนังด้านในลำคอ
ฝีต่อมบาร์โธลิน : เกิดในต่อมบาร์โธลิน บริเวณผิวหนัง ที่แคมอวัยวะเพศหญิง
ฝีที่ก้น : เกิดบริเวณผิวหนังที่รอยแยก หรือร่องก้น
ฝีบริเวณทวารหนัก : เกิดบริเวณลำไส้ตรง และทวารหนัก
ฝีไขสันหลัง : เกิดบริเวณโดยรอบไขสันหลัง
ฝีในสมอง : เกิดภายในเนื้อสมองใต้กะโหลกศีรษะ เป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก แต่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
อาการของฝี
อาการของฝี โดยทั่วไป คือ มีตุ่มหนองอักเสบบวม เจ็บปวดและแสบร้อน เมื่อสัมผัสโดน รู้สึกไม่สบายตัว และอาจมีไข้สูง หรือหนาวสั่นร่วมด้วย ซึ่งเป็นสัญญาณอาการของการติดเชื้อ

สาเหตุของฝี
สาเหตุของการเกิดฝี บริเวณผิวหนัง เป็นการอุดตันของต่อมน้ำมัน หรือต่อมเหงื่อใต้ผิวหนัง และการอักเสบของรูขุมขน หรือเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว ทำให้เชื้อโรคแทรกตัวเข้าไปภายในต่อมเหล่านี้ จึงเกิดกระบวนการอักเสบ ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เพื่อต้านต่อเชื้อโรค เกิดเป็นฝีที่มีการอักเสบ และโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเชื้อส่วนใหญ่ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดฝี คือ เชื้อแบคทีเรีย
ส่วนสาเหตุของการเกิดฝี ภายในร่างกาย มักเป็นภาวะแทรกซ้อน ที่พัฒนาขึ้นหลังป่วยจากอาการอื่น ๆ อย่างการติดเชื้อภายในอวัยวะต่าง ๆ เช่น ไส้ติ่งอักเสบ และแตกภายในช่องท้อง ทำให้เชื้อแบคทีเรียกระจาย เข้าสู่เนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ภายในช่องท้อง จนอาจเกิดเป็นฝีในเวลาต่อมาได้

การวินิจฉัยฝี
การวินิจฉัยฝี ทำได้โดยสังเกตว่า มีตุ่มหนองเกิดขึ้นตามร่างกาย แล้วตุ่มหนองนั้น ทำให้เกิดความเจ็บปวดหรือไม่ หากตุ่มนั้น มีขนาดใหญ่กว่า 1 เซ็นติเมตร หรือครึ่งนิ้ว หรือมีอาการเจ็บป่วยอื่น ที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อร่วมด้วย เช่น มีไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้อาการป่วย หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายเกิดขึ้นตามมาได้
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักถามอาการ ประวัติทางการแพทย์ และตรวจร่างกายในบริเวณที่เกิดฝี หรือใช้วิธีการตรวจเฉพาะจุด ในบริเวณที่เกิดฝี ส่งตรวจตัวอย่างของเหลวจากฝี และแพทย์ อาจส่งตรวจเพิ่มเติม ด้วยการอัลตราซาวด์ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การสร้างภาพ ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) สำหรับฝีที่อวัยวะภายใน
การรักษาฝี
การรักษาฝีในเบื้องต้น หากฝีมีขนาดเล็ก และไม่เจ็บปวดรุนแรง ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้ ด้วยวิธีง่าย ๆ ที่บ้าน อาการจะดีขึ้น และฝีจะหายไปเอง โดยต้องหลีกเลี่ยงการบีบกด หรือใช้เข็มเจาะฝีด้วยตนเอง เพื่อให้ของเหลวไหลออกมา เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในเนื้อเยื่อ บริเวณใกล้เคียง และอาจสร้างความเสียหาย แก่เส้นเลือดบริเวณดังกล่าวได้
แต่หากฝีมีขนาดใหญ่ หรือมีอาการป่วยที่รุนแรง ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการรักษา ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อ และอาจใช้การผ่าตัด เพื่อถ่ายหนองในฝีออก ทั้งนี้ การรักษาฝีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของฝี ชนิดและบริเวณที่เกิดฝี และดุลยพินิจของแพทย์

ภาวะแทรกซ้อนของฝี
ภาวะแทรกซ้อนของฝีที่ผิวหนัง และฝีที่อวัยวะภายใน โดยรวมแล้ว คือ การติดเชื้อในเนื้อเยื่อ และการติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากเชื้อที่อยู่ในหนองภายในฝี ลามเข้าสู่กระแสเลือด หรือเนื้อเยื่อต่าง ๆ หรือฝีอาจแตก และทำให้เชื้อลามไปยังเนื้อเยื่อส่วนอื่น ๆ ได้
การป้องกันการเกิดฝี
การป้องกันการเกิดฝีที่ผิวหนัง สามารถทำได้ ด้วยการรักษาสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ รวมทั้งรักษาความสะอาด และดูแลสุขอนามัยในด้านต่าง ๆ ด้วย ส่วนฝีที่อวัยวะภายใน มักเกิดจากการเจ็บป่วย ด้วยโรคและอาการต่าง ๆ ก่อนหน้า จึงเป็นการยากที่จะป้องกันไม่ให้ฝีเกิดขึ้น
รู้จักการกับฝี วิธการรักษา ป้องกันต่างๆแล้ว มารู้จักกับโรคหนองในกันบ้าง เป็นหนองใน ต้องรีบรักษา
ใครที่กำลังคิดว่าตัวเองมีอาการเหล่านี้แล้ว เกิดความกังวลในการรักษา หรือค่าใช้จ่ายต่างๆ ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะเรามีเกมสนุก แถมเล่นแล้วได้เงินจริง มาแนะนำให้คุณแก้ขัดอีกด้วย ไม่เชื่อลองดู สูตรพิชิตโบนัส จากเกมสล็อต