SURREALISM เป็นศิลปะที่เต็มไปด้วยความเพ้อฝัน ไม่สมจริง ที่มากกว่าความสวยงามอันแปลกประหลาดนี้แล้ว ศิลปะเหนือจริงยังมีเรื่องราวการกำเนิดที่น่าสนใจอีกด้วย วันนี้เรามาทำความรู้จักับ SURREALISM ศิลปะที่มีความเหนือจริง กันดีกว่า
ศิลปะเหนือจริง คืออะไร
ลัทธิเหนือจริง หรือ เซอร์เรียลลิซึม (อังกฤษ: Surrealism) เป็น “ลัทธิ” หรือ “ขบวนการ” ทางวรรณศิลป์และทัศนศิลป์ที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อ็องเดร เบรอตง (Andre Breton) เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มดาดา (Dadaism) ที่มีเป้าหมายใช้ความก้าวร้าวรุนแรงเพื่อต่อต้านสงคราม ต่อต้านค่านิยมของชนชั้นกลางทุกชนิดรวมทั้งคริสต์ศาสนา ต้องการทำลายขนบประเพณีที่ชนชั้นกลางสะสมไว้รวมทั้งศิลปวรรณคดีด้วย หลังจากร่วมทำกิจกรรมกับกลุ่มดาดาอยู่ระยะหนึ่ง เบรอตงกับเพื่อนก็แยกตัวออกมาตั้งกลุ่มใหม่ คือ กลุ่มเซอร์เรียลลิซึม ซึ่งยังรับเอาความก้าวร้าวมุ่งทำลายค่านิยมของชนชั้นกลางของดาดามาเป็นฐานแต่มุ่งสร้างค่านิยมใหม่
จุดเด่นของศิลปะเหนือจริง
เอกลักษณ์ของศิลปะเซอร์เรียลลิซึมก็คือการใช้สิ่งที่เรียกว่า ความบังเอิญ (Chance) มาเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอผลงานโดยเฉพาะการหยิบเอาสิ่งของสองอย่างหรือมากกว่านั้นซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกันมาวางไว้ด้วยกัน เหมือนเป็นการพบกันโดยบังเอิญที่ก่อให้เกิดความหมาย แม้แต่ละอย่างจะไม่มีความเกี่ยวเนื่องกันเลย แต่เมื่อมาอยู่ร่วมกันในพื้นที่เดียวกัน ก็ย่อมจะกระตุ้นให้ผู้ชมเกิดจินตนาการและความรู้สึกถึงเอกภาพแบบใหม่ ซึ่งไม่ขึ้นกับเหตุผลหรือตรรกะใด ๆ ในโลกกายภาพ
รูปแบบผลงานศิลปะจะใช้วิธีการนำเอาสิ่งที่เป็นสภาวะปกติวิสัยตั้งแต่ 2 สิ่งที่ดูเข้ากันไม่ได้มาจัดร่วมประกอบกัน และแต่งเติมผสมผสานให้ดูเป็นสิ่งเดียวกันอย่างกลมกลืน รวมถึงการเชื่อมโยงความรู้สึกสัมผัสและประสบการณ์ทางการเห็นให้สอดคล้องกับความคิด เชื่อมโยงให้เป็นเรื่องใหม่
ลักษณะในการแสดงออกทางศิลปะสองด้าน
- ด้านเรื่องราว
- เป็นเรื่องราวในอดีตมีความหมายต่อศิลปิน เช่น ความผิดหวัง ความรัก ความหยิ่งผยอง ความกลัว
- เป็นเรี่องราวที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น การแนะนำสั่งสอนในทางลบ คล้ายกับกลุ่มดาดา
- ด้านรูปทรงและวิธีการ
- ศิลปินแสดงออกด้วยสีที่มีความเข้มปานกลาง ให้ความรู้สึกนุ่มนวลบนผิวหน้า ด้วยการเกลี่ยให้กลมกลืน
- ศิลปินแสดงออกด้วยวัสดุอื่น ปนกับวัสดุที่ศิลปินผู้นั้นถนัด เช่น ทรายปนกับสีน้ำมัน กระดาษสีปนกับสีน้ำมัน
- ศิลปินพยายามจะซ่อมสิ่งที่ต้องการแสดงออกด้วยเทคนิคของการเขียน เช่น เขียนวัตถุบนกระจกใส หรือเขียนความชัดเจนของสิ่งของคลุมเรื่องที่ต้องการแสดง
- ศิลปินพยายามสร้างสรรค์ แสง เงา และสีขึ้นเอง
ผลงานศิลปะเหนือจริง
The Treachery of Images

This is not a pipe หรือในอีกชื่อเรียกว่า The Treachery of Images ผลงานภาพวาดอันโด่งดังของ เรอเน มากริต (René Magritte) เป็นงานที่เปิดช่องว่างตรงกลางระหว่างภาษาที่เป็นสัญลักษณ์ (Symbol) กับภาพวาดที่เป็นเหมือนสัญรูป (Icon) ทั้ง 2 สิ่งถูกสร้างขึ้นมาเพื่อถ่ายทอดบางสิ่งบางอย่าง เพราะเมื่อภาพตรงหน้าที่มองเห็นเป็นภาพของกล้องยาสูบ (Pipe) แต่ตัวหนังสือภาษาฝรั่งเศสที่ถูกเขียนไว้ด้านล่างกลับบอกว่า “นี่ไม่ใช่กล้องยาสูบ (Ceci n’est pas une pipe.)” สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนการสะกิดให้เราตั้งข้อสงสัยและเปิดทางไปสู่หลักการวิเคราะห์ทางสัญศาสตร์เกี่ยวกับอำนาจของภาษาและตัวหนังสือที่ส่งต่อมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
มากริต บอกเราว่า ภาพวาดของเขานี้ ไม่ใช่ กล้องยาสูบ แต่เป็นเพียงจินตภาพของกล้องยาสูบอันหนึ่ง กล้องยาสูบในภาพเขียน เป็นเพียงตัวแทนชิ้นหนึ่ง มากริตเตบอกอีกว่า หากเขาเขียนหัวข้อว่า “นี่คือกล้องยาสูบ” เขาก็จะกลายเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ ภาพเขียนของมากริตเตมากมาย ที่แสดงให้เห็นถึงการตัดแยกแบ่งข้อต่อระหว่างความจริงและภาพลวงตา
The Persistence of Memory

“The persistence of Memory” ความทรงจำที่ตราตรึง หรือที่เรียกกันติดปากว่า “นาฬิกาเหลว” เป็นผลงานที่จะเรียกว่า เป็นคำอธิบายของลัทธิ Surrealism เลยก็ไม่ผิด (เพราะไม่ว่าจะเปิดหนังสือเล่มไหน ก็จะมีการยกตัวอย่าง นาฬิกาเหลว นี้ประกอบคำอธิบายของลิทธิเหนือจริงจนชินตา) ที่ผลงานชิ้นนี้สะท้อนความเป็นลัทธิเหนือจริงออกมาได้ดีก็คงเป็นเพราะ นาฬิกาเหลว นี่แหละ เพราะในชีวิตจริง นาฬิกาที่ใช้งานได้ก็ควรจะเป็นรูปเป็นร่างแน่นอน ไม่ใช่อ่อนย้วย ไหลไปตามแรงโน้มถ่วงโลกขนาดนี้
มีการตีความไปต่าง ๆ นานาเกี่ยวกับผลงาน “นาฬิกาเหลว” ของดาลี หยิบยกทฤษฎีมาอ้างอิงกันมากมาย แต่ที่จริงแล้วดาลีไม่เคยเปิดเผยอย่างจริง ๆ จัง ๆ หรอกว่าผลงานของเขามีความหมายว่าอะไร บอกแค่เพียงว่าได้แรงบันดาลใจมาจาก “เนยแข็งที่ละลายเมื่อโดนแสงอาทิตย์” ก็เท่านั้น
ผลงานชิ้นนี้ของซัลวาดอร์ ดาลีวาดเมื่อปี 1931 เป็นผลงานที่ทั่วโลกรู้จักมากที่สุดของเขา เปิดการแสดงครั้งแรกที่แกลอรี ฮวน ลีวายในปี 1932 ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่(Museum of Modern Art) นิวยอร์คซีตีตั้งแต่ปี1934เป็นต้นมา และเป็นที่รู้จักในนามศิลปะแนวเซอเรียลลิส์ม (Sur-realism) หรือภาพนาฬิกาละลาย (melting pocket watch)
มีนักวิจารณ์อ้างถึงทฤษฎีมากมายที่เกียวข้องกับภาพนี้ เป็นภาพการสรุปทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับความแข็งและความอ่อนของดาลิในสมัยนั้น ดอว์น อเดสได้เขียนเกี่ยวกับแนวคิดนี้ไว้ว่า”นาฬิกาละลายคือสัญญลักษณ์เกี่ยวกับจิตใต้สำนึกที่เกี่ยวข้องกับช่องว่างและเวลา แนวคิดเซอเรียลิสจะเพ่งไปที่การล่มสลายของกฏเกณฑ์แห่งจักรวาล” บางคนคิดไกลไปกว่านั้น อ้างว่าดาลิกำลังโยงความคิดเกี่ยวจิตใต้สำนึกกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอส์ไตน์ซึ่งกำลังได้รับความสนใจในขณะนั้น จนวันหนึ่งมีนักข่าวชื่อ Ilya Prigogine ถามว่า “มีคนพูดกันว่าคุณดาลิสร้างภาพนี้เพื่อเกี่ยวโยงกับทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอส์ไตน์
เคยเป็นไหม? เวลาที่ขับรถด้วยความเร็วขึ้นเนิน แล้วเกิดอาการ “ เสียววูบ ” ในท้องหรือรู้สึก “ ใจหวิวๆ ” อาการที่ว่าคืออะไรและเกิดจากอะไร ซึ่งอาการเสียววูบที่เกิดในช่องท้องนั้นเกิดขึ้นจากระบบประสาทอัตโนมัติ และการเปลี่ยนแปลงแรงโน้มถ่วงของโลกที่เกิดอย่างกะทันหัน ส่งผลให้กลไกการทรงตัวของร่างกายผิดปกตินั่นเอง
อ่านบทความเพิ่มเติม 5 จิตรกรเอกระดับโลก!!